ภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change หรือ UNFCCC) ตามพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2548 โดยในช่วงแรก (ระหว่างปี พ.ศ. 2551-2555) กำหนดให้กลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วที่เป็นสมาชิกของพิธีสารเกียวโต (Annex l) มีพันธกรณีในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 5.2% จากปริมาณการปล่อยก๊าซเรือกกระจกในปีพ.ศ. 2533 โดยประเทศไทยซึ่งอยู่ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา (Non Annex l) ในปัจจุบันไม่มีพันธกรณีที่จะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่จะต้องดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตามกลไก (Mechanism) หลัก 3 ประการคือ
1.กลไกการทำโครงการร่วม (Joint Implementation หรือ JI) โดยกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วสามารถดำเนินโครงการร่วมกันเองระหว่างประเทศในกลุ่มโดยปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้เรียกว่า Emission Reduction Units หรือ ERUs 2.กลไกการพัฒนาที่สะอาด (CDM) โดยกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว สามารถดำเนินโครงการร่วมกันกับกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา (Non-Annex l) โดยปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้จะต้องผ่านการรับรอง จึงเรียกว่า CERs 3.กลไกการซื้อสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission Trading หรือ ET)โดยกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ไม่สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศได้ตามที่กำหนดไว้ สามารถซื้อสิทธิ์การปล่อยจากประเทศพัฒนาแล้วด้วยกันเองที่มีสิทธิ์การปล่อยเหลือ เรียกสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกนี้ว่า Assigned Amount Units หรือ AAUs
คาร์บอนเครดิตคืออะไร
คาร์บอนเครดิต หมายถึง สิ่งทดแทนการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ จากการกระทำของมนุษย์ เช่น ภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรม ฯลฯ โดยประเทศที่อยู่ในกลุ่ม Annex l ไม่สามารถทำการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในประเทศของตนเองได้แล้ว ทำให้จะต้องมีการสร้างความร่วมมือกับประเทศกลุ่ม Non-Annex l โดยผ่านกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism หรือ CDM) เพื่อให้นำมาซึ่ง Certified Emission Reduction หรือ CERs เพื่อใช้เป็นคาร์บอนเครดิตของตนเองทำให้มีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศ
ที่มา : http://commons.wikimedia.org/wiki/File:Greenhouse_Effect.svg.org/wiki/File:Greenhouse_Effect.svg
ประเทศไทยกับคาร์บอนเครดิต
ปัจจุบันประเทศไทยมีองค์กรมหาชน เรียกว่า องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก(องค์กรมหาชน) พ.ศ. 2550 (Thailand Greenhouse Gas Management Organization หรือ TGO) มีชื่อย่อว่า อบก. โดยมีกฎหมายรองรับองค์กรดังกล่าวแล้ว และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2550 ที่ผ่านมา โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการวิเคราะห์ กลั่นกรองและทำความสะอาด (Clean Development Mechanism หรือ CDM) รวมทั้งติดตามประเมินผลโครงการที่ได้รับคำรับรอง รวมถึงเป็นศูนย์กลางข้อมูลการดำเนินงานและให้การสันบสนุนการดำเนินงานและให้การสนับสนุนด้านก๊าซเรือนกระจก ตลอดจนให้คำแนะนำแก่ภาครัฐ และเอกชนเกี่ยวกับการจัดการก๊าซเรือนกระจก
แหล่งข้อมูล - กลุ่มงานคณะกรรมาธิการ การทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสำนักกรรมาธิการ3 - http://www.tgo.or.th/ - http://www.bnet.com/2403-13241_23-187036.html - http://www2.dede.go.th/Wboard/Question.asp?GID=417 - http://www.asserpress.nl/cata/Kyoto-Protocol/fra.html - http://www.thaibiogas.net/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น