วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เด็กปั่มยิง พ.ต.ท.ดับหลังไม่จ่ายค่าแก็ส 1 บาท


         (22 ส.ค.)ตำรวจภูธรมะขาม จ.จันทบุรี เข้าตรวจสอบสภาพศพ พ.ต.ท.พลังพล ภักดี อดีตข้าราชการตำรวจใน จ.บุรีรัมย์ บริเวณหน้าตู้จำหน่ายแก๊สภายในปั้มแก๊สแอลพีจีรักชูก้า หน้าตลาดเทศบาลมะขามเมืองใหม่ อ.มะขาม พบบาดแผลถูกยิงด้วยอาวุธขนาด .38 เข้าที่ศีรษะ 2 นัด ไหล่ซ้าย 1 นัด ส่วนคนร้ายที่ลงมือก่อเหตุ คือ นายฤทธิ์ ปรีดาธรรม พนักงานปั๊มแก๊ส โดยหลังก่อเหตุได้ขี่จักรยานยนต์หลบหนีสอบถามเด็กปั๊มที่เห็นเหตุการณ์ทราบว่า ผู้ตายไม่ยอมจ่ายเงินส่วนเกินจากการเติมแก๊ส จำนวน 1.80 บาท โดยอ้างว่าได้บอกให้นายฤทธิ์เติมแก๊สแค่ 600 บาท จึงเกิดการโต้เถียงกัน ก่อนที่นายฤทธิ์จะใช้อาวุธปืนออกมากระหน่ำยิง สำหรับปืนดังกล่าวเป็นของเจ้าของปั๊มที่ให้ไว้กับพนักงานถือเงิน เพื่อป้องกันตัว อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่จะติดตามตัวนายฤทธิ์มาดำเนินคดีในข้อหาฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาต่อไป.-สำนักข่าวไทย
อ้างอิง

      นางสาว อิศรา โรจนะ ชั้น ม.6/1   

จัดค่ายจริยธรรม ปลูกฝังนักเรียน ให้เสียสละเพื่อส่วนรวม

ศูนย์ข่าวศรีราชา - “รร.มารีวิทย์จัดค่ายจริยธรรม ปลูกฝังนักเรียน ให้เสียสละเพื่อส่วนรวม และเป็นคนดีของสังคมบนพื้นฐานของความเป็นไทย 
      
       วันที่ 7 ก.ค.54 นายชวน กิติเกียรติศักดิ์ ผู้รับใบอนุญาตในเครือโรงเรียนมารีวิทย์พัทยา มารีวิทย์สัตหีบ และมารีวิทย์บ่อวิน จังหวัดชลบุรี นำนักเรียนในระดับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ของโรงเรียนมารีวิทย์สัตหีบ จำนวนกว่า 100 คน เข้าค่ายจริยธรรม ณ สำนักปฏิบัติธรรมเขาพลอย อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
       นายชวน กล่าวว่า ทางโรงเรียนมีนโยบายส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงาม ซึ่งเป็นค่านิยมที่พึงประสงค์ของสังคมไทยในปัจจุบันให้เกิดคุณลักษณะที่ดีในตัวของนักเรียนในด้านความ ซื่อสัตย์สุจริต ความกตัญญูกตเวที ความมีเมตตากรุณา การรู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การปรับตัวในการอยู่ร่วมกัน และรู้จักการเสียสละเพื่อส่วนรวม มีความรัก ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และเป็นคนดีของสังคมบนพื้นฐานของความเป็นไทย จึงได้จัดโครงการ ค่ายจริยธรรมขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนในทุกด้าน คือ ให้ผู้เรียนเป็นคนเก่ง ดี มีสุข สามารถอยู่ในสังคมได้เป็นอย่างดี และจุดมุ่งหมายดังกล่าวจะประสบความสำเร็จได้ต้องอาศัยการ ฝึกฝน อบรม สั่งสอนจากครอบครัว โรงเรียน และสภาพแวดล้อม 
       การอบรมส่งเสริมสนับสนุนด้านคุณธรรมจริยธรรมให้แก่เด็ก และเยาวชนจึงเป็นกุศลโลบายอย่างหนึ่งและเป็นพื้นฐานสำคัญอันจะนำไปสู่การพัฒนาในด้านอื่น ๆ ต่อไป โรงเรียนมารีวิทย์สัตหีบได้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมสำหรับนักเรียน และเยาวชนขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติการทำสมาธิให้ถูกต้อง ปลูกฝังให้นักเรียนเลื่อมใส และศรัทธาในพระรัตนตรัย เห็นความสำคัญของพระพุทธศาสนา ในฐานะที่เป็นศาสนาประจำชาติ ให้นักเรียนสามารถนำหลักธรรม และความรู้ไปใช้ในการเรียนในชีวิตประจำวัน รู้คุณค่าของตนเอง รู้คุณค่าของเวลาไม่หลงผิด
       นอกจากนั้นต้องการให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมบำเพ็ญความดี เป็นหนึ่งในหกสิบล้านความดีถวายในหลวงโดยมี คณะ ครูอาจารย์ และนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวนกว่า 100 คน เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้รวม 3 วัน 2 คืน โดยได้รับความเมตตาจากพระครูสังฆรักษ์ พงษ์ศิริ ปภัสสโร หัวหน้าสำนักปฏิบัติธรรมเขาพลอย ให้ความอนุเคราะห์สถานที่สำหรับจัดกิจกรรม ตลอดจนแนะนำพระวิทยากรและร่วมเป็นพระวิทยากรให้ความรู้แก่นักเรียนในโอกาสเดียวกันนี้ด้วย

วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ปิโตรเลียม (Petroleum)

ปิโตรเลียม (Petroleum)

                    น้ำมันปิโตรเลียม หมายถึง น้ำมันที่ได้มาจากใต้พื้นดินของโลกซึ่งมีอยู่ทั่วไป น้ำมันปิโตรเลียมเกิดจากสัตว์ทะเล ที่ตายทับถมอยู่ใต้ทะเลมหาสมุทร ไขมันของสัตว์เหล่านั้น ได้ถูกกักขังด้วยชั้นต่างๆ ตะกอนเหล่านี้จะถูกอัดให้แน่นขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นหิน ดินดาน หินปูน หินทราย หยดไขมันต่างๆ เคลื่อนผ่านหินเหล่านี้ จนกระทั่งไปพบกับหินที่แน่นทึบ ทำให้ไขมันไหลต่อไปไม่ได้ ไขมันที่ถูกขังจะสลายตัวเป็นน้ำมันปิโตรเลียม และก๊าซต่างๆ โดยก๊าซเหล่านี้ จะลอยอยู่เหนือน้ำมัน
                    เนื่องจากน้ำมันปิโตรเลียม เมื่อนำมาจากใต้พื้นดิน มีลักษณะเป็นของเหลวสีดำ น้ำตาล หรือน้ำตาลเข้ม เรียกว่า  " น้ำมันดิบ " (Crude Oil)
                    สารประกอบที่มีอยู่ในน้ำมันปิโตรเลียม เป็นสารประกอบพวกไฮโดร์คาร์บอน มากมายหลายชนิด ตั้งแต่คาร์บอนหนึ่ง จนถึงคาร์บอนนับถึงสิบๆ ตัว พวกที่มีโมเลกุลน้อย จะมีจุดเดือดต่ำ และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามน้ำหนักโมเลกุล เมื่อค่อยๆ ให้ความร้อนแก่น้ำมันปิโตรเลียม พวกที่จุดเดือดต่ำจะระเหยมาก่อน และเมื่อความร้อนมาก พวกที่มีจุดเดือดสูงจะระเหยตามมา จากนั้นก็ให้ผ่านขบวนการควบแน่น จากนั้นของเหลวชนิดต่างๆ จะแยกออกมา ขบวนการดังกล่าว เรียกว่า " การกลั่นตามลำดับส่วน" (Fractional Distillation) เรียงตามลำดับ จากจุดเดือดต่ำ ไปจุดเดือดสูง ได้ดังนี้
               1. ก๊าซธรรมชาติ ได้แก่ มีเธน อีเธน โพรเทน และ บิวเทน มีจุดเดือดต่ำกว่า 0 ํC   พบในบริเวณผิวหน้าของบ่อน้ำมัน สำหรับโพรเทน และบิวเทนทำเป็นของเหลวได้ง่ายกว่ามีเธน และอีเธน จึงนำมาบรรจุถังใช้เป็นก๊าซหุงต้ม ตามครัวเรือน ส่วนก๊าซมีเธน และอีเธน ใช้เป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์ วัตถุดิบในการผลิตปุ๋ย เมธานอล พลาสติก ยางเทียม เป็นต้น
               2. ปิโตรเลียมอีเธอร์ มีสถานะเป็นของเหลว ที่ระเหยได้ง่าย ใช้เป็นตัวทำละลายในห้องวิทยาศาสตร์ และ ในการอุตสาหกรรม เช่น ใช้ทำทินเนอร์
               3. ก๊าซโซลีน (น้ำมันเบนซิน) เป็นของเหลวระเหยง่าย มีจุดเดือดระหว่าง 50 - 150 ํC   ส่วนใหญ่ใช้เป็นเชื้อเพลิง ในกลจักรก๊าซโซลีน
               4. เคโรซีน (น้ำมันก๊าด) จุดเดือดอยู่ระหว่าง 150 - 250 ํC ประโยชน์ใช้จุดตะเกียงให้แสงสว่างเชื้อเพลิงเครื่องบินโดยสารไอพ่น ใช้เป็นตัวทำละลายสำหรับผสมในยาฆ่าแมลง สี น้ำมันชักเงา เป็นต้น
                5. น้ำมันดีเซล หรือเรียกว่า น้ำมันเตา มีจุดเดือดอยู่ระหว่าง 250 - 350 ํC   เป็นน้ำมันที่มีลักษณะเป็นน้ำมันข้น จึงใช้เป็นเชื้อเพลิง สำหรับกลจักรดีเซล
                6. น้ำมันหล่อลื่น จุดเดือดสูงกว่า 300 ํC  มีลักษณะเป็นของเหลวใส และเหนียว ใช้เป็นน้ำมันหล่อลื่น ในเครื่องยนต์ทุกชนิด
                7. วาสลิน มีจุดหลอมเหลวต่ำกว่า 40 ํC   มีลักษณะเป็นครึ่งเหลว ครึ่งแข็ง ใช้ผสมในยาพวกขี้ผึ้ง หรือครีมบางประเภท น้ำมันถูนวด และน้ำมันกันสนิม
                8. ขี้ผึ้งพาราฟิน มีจุดหลอมเหลวต่ำกว่า 80 ํC   มีลักษณะเป็นของแข็ง ไม่ทำปฏิกิริยากับสิ่งใด ใช้เคลือบกระดาษไข ใช้ในการถนอมอาหาร โดยเทน้ำผึ้งเหลวบนหน้าของที่บรรจุในขวด เมื่อเย็นจะแข็งตัวป้องกันเชื้อราได้
                9. ยางมะตอย หรือ ปิโตรเลียมแอสฟัสต์ มีจุดเดือดสูงกว่า 350 ํC   เป็นของแข็งสีดำ ส่วนใหญ่เป็นคาร์บอน ใช้เป็นยางมะตอยปูราดถนน


คาร์บอนเครดิต

ความเป็นมาของคาร์บอนเครดิต
       ภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United  Nations  Framework  Convention  on  Climate  Change หรือ UNFCCC) ตามพิธีสารเกียวโต (Kyoto  Protocol) ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2548 โดยในช่วงแรก (ระหว่างปี พ.ศ. 2551-2555) กำหนดให้กลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วที่เป็นสมาชิกของพิธีสารเกียวโต (Annex l) มีพันธกรณีในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 5.2% จากปริมาณการปล่อยก๊าซเรือกกระจกในปีพ.ศ. 2533 โดยประเทศไทยซึ่งอยู่ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา (Non  Annex l) ในปัจจุบันไม่มีพันธกรณีที่จะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก   แต่จะต้องดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตามกลไก (Mechanism) หลัก 3 ประการคือ

       1.กลไกการทำโครงการร่วม (Joint  Implementation หรือ JI) โดยกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วสามารถดำเนินโครงการร่วมกันเองระหว่างประเทศในกลุ่มโดยปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้เรียกว่า Emission  Reduction  Units หรือ ERUs       2.กลไกการพัฒนาที่สะอาด (CDM) โดยกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว สามารถดำเนินโครงการร่วมกันกับกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา (Non-Annex l) โดยปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้จะต้องผ่านการรับรอง จึงเรียกว่า CERs       3.กลไกการซื้อสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission  Trading หรือ ET)โดยกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ไม่สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศได้ตามที่กำหนดไว้ สามารถซื้อสิทธิ์การปล่อยจากประเทศพัฒนาแล้วด้วยกันเองที่มีสิทธิ์การปล่อยเหลือ เรียกสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกนี้ว่า Assigned  Amount  Units หรือ AAUs


คาร์บอนเครดิตคืออะไร
        คาร์บอนเครดิต หมายถึง สิ่งทดแทนการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ จากการกระทำของมนุษย์ เช่น ภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรม ฯลฯ โดยประเทศที่อยู่ในกลุ่ม Annex l ไม่สามารถทำการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในประเทศของตนเองได้แล้ว ทำให้จะต้องมีการสร้างความร่วมมือกับประเทศกลุ่ม Non-Annex l  โดยผ่านกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean  Development  Mechanism หรือ CDM) เพื่อให้นำมาซึ่ง Certified  Emission  Reduction หรือ CERs เพื่อใช้เป็นคาร์บอนเครดิตของตนเองทำให้มีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศ




ประเทศไทยกับคาร์บอนเครดิต
      ปัจจุบันประเทศไทยมีองค์กรมหาชน เรียกว่า   องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก(องค์กรมหาชน) พ.ศ. 2550 (Thailand  Greenhouse Gas Management  Organization หรือ TGO) มีชื่อย่อว่า อบก. โดยมีกฎหมายรองรับองค์กรดังกล่าวแล้ว และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2550 ที่ผ่านมา โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการวิเคราะห์ กลั่นกรองและทำความสะอาด (Clean Development Mechanism หรือ CDM) รวมทั้งติดตามประเมินผลโครงการที่ได้รับคำรับรอง รวมถึงเป็นศูนย์กลางข้อมูลการดำเนินงานและให้การสันบสนุนการดำเนินงานและให้การสนับสนุนด้านก๊าซเรือนกระจก ตลอดจนให้คำแนะนำแก่ภาครัฐ และเอกชนเกี่ยวกับการจัดการก๊าซเรือนกระจก


แหล่งข้อมูล      - กลุ่มงานคณะกรรมาธิการ การทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสำนักกรรมาธิการ3       - http://www.tgo.or.th/      - http://www.bnet.com/2403-13241_23-187036.html      - http://www2.dede.go.th/Wboard/Question.asp?GID=417      - http://www.asserpress.nl/cata/Kyoto-Protocol/fra.html      - http://www.thaibiogas.net/

เอมีน+เอไมด์

เอมีน+เอไมด์

เอมีน
      เอมีน (amine) คือ สารประกอบที่เกิดจากไฮโดรเจนในโมเลกุลของแอมโมเนียถูกแทนที่
                                                  R"
ด้วยหมู่แอลคินหรือหมู่อะโรมาติก มีสูตรทั่วไป 3 แบบ คือ R-NH2, RNHR'  และ R-N-R'
      การเรียกชื่อ เรียกตามจำนวนคาร์บอนอะตอมคล้ายกับแอลเคน แต่ใช้คำว่า "อะมิโน" นำหน้าเช่น
      CH3CH2NH2   อ่านว่า อะมิโนอีเทน
      CH3CH2CH2CH2CH2NH2   อ่านว่า อะมิโนเพนเทน
      เอมีนมีหมู่อะมิโน (-NH2) เป็นหมู่ฟังก์ชันและมีสมบัติเป็นเบสจึงเกิดปฏิกิริยากับกรดได้ เช่น
      CH3CH2CH2-CH2-nH2         +           HCl              CH3CH2CH2CH2-NHCl-
                 อะมิโนบิวเทน                 กรดไฮโดรคลอริก           บิวทิลแอมโมเนียมคลอไรด์
      เอมีนพบในพืชเรียกว่า แอลคาลอยด์ สารแอลคาลอยด์จะเป็นสารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ พบในส่วนต่าง ของพืช เช่น มอร์ฟีนพบในดอกฝิ่น 
เอไมด์
      เอไมด์ (amide) คือ สารประกอบที่มีหมู่อะมิโน (-NH2) และหมู่คาร์บอนิล (-C-)
             O
เป็นองค์ประกอบ มีสูตรทั่วไปเป็น R-C-NH2 มีหมู่เอไมด์ (-C-NH2) เป็นหมู่ฟังก์ชัน
      การเรียกชื่อ เรียกชื่อตามจำนวนคาร์บอนอะตอมทำนองเดียวกับสารอินทรีย์ทั่วไป แต่เปลี่ยนแปลงท้ายเป็น "……….าไมด์" เช่น
      HCONH2 อ่านว่า เมทานาไมด์
      CH3CONH2  อ่านว่า เอทานาไมด์
      CH3CH2CONH2 อ่านว่า โพรพานาไมด์
      ความสัมพันธ์ระหว่างกรดอินทรีย์ เอมีน และเอไมด์
1. เป็นปฏิกิริยาการเตรียมเอไมด์จากกรดอินทรีย์กับเอมีน  และ (2) เป็นปฏิกิริยาไฮโดรลิซีสด้วยสารละลายกรดหรือสารละลายเบส ให้เอมีนและกรดอินทรย์
                                                     O
      เอไมด์ที่สำคัญคือ ยูเรีย (NH2 - C - NH2) ยูเรียมีประโยชน์มากในทางอุตสาหกรรมโดยเฉพาะการผลิตปุ๋ยยูเรีย 
เอกสารแนบ:DSCF3540.JPG