วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ตัวอย่างข้อสอบเคมี(ความเข้มข้นและการเตรียมสารละลาย )

ตัวอย่างข้อสอบเคมี(ความเข้มข้นและการเตรียมสารละลาย )
1.ก๊าซไฮโดรเจนคลอไรด์หนัก1.46กิโลกรัม นำไปละลายน้ำจะได้กรดไฮโดรริก10dm3     กรดนี้มีความเข้มข้นเท่าใด(Ent’23)
ก.0.146  g/dm3      ข.14.6% (น้ำหนัก/น้ำหนัก)      ค.4mol/dm3      ง.0.4 mol/dm3
2.น้ำส้มสายชูชนิดหนึ่ง มีความหนานแน่น 1.13 g/cm3 ระบุว่ามีกรดแอซีติกละลายอยู่ร้อยละ8โดยน้ำหนักน้ำส้มสายชูนี้จะมีความเข้มข้นคิดเป็นกี่ mol/dm3(ENT’43)
ก.0.13         ข.1.33         ค.1.51         ง.7.1
3.ผ่านก๊าซAลงในน้ำจำนวนหนึ่ง ได้สารละลายกรดBที่มีความเข้มข้นร้อยละ30โดยมวล และมีความหนาแน่น1.1กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ถ้ามวลโมเลกุลของB=66สารละลายกรดBมีความเข้มข้นกี่โมลต่อลูกบาศก์เดซิเมตร(ENT’37)
ก.5           ข.10             ค.20         ง.25
4.ความเข้มข้นของตัวถูกละลายชนิดต่างๆในสารละลายA,BและCในน้ำ เป็นดังนี้
สารละลายในน้ำ   ตัวถูกละลาย ความเข้มข้น
A               NaCl            58.5g/dm3
B                Na2SO4      71g/dm3
C                NaOH         10%โดยมวลต่อปริมาตร
การเรียงลำดับความเข้มข้นของสารละลายในหน่วย mol/dm3 จากมากไปน้อยข้อใดถูกต้อง(ENT’34)
ก.A>B>C       ข.B>A>C        ค.C>B>A       ง.C>A>B
5.ของเหลวขนิดหนึ่งมีสูตรเป็นA3B มีความถ่วงจำเพาะ1.50 (มวลอะตอมของA=33,B=21)เมื่อนำA3B  20 cm3 ผสมกับน้ำให้มีปริมาตรสุดท้ายเท่ากับ500cm3 สารละลายที่ได้จะมีความเข้มข้นกี่mol/dm3(ENT’26)
ก.2.0          ข.1.5          ค.1.0          ง.0.5
6.ถ้าสารละลายกรดสเตียริกในเอทานอลเข้มข้นB%โดยปริมาตร และมวลโมเลกุลของกรดสเตียริกเท่ากับAสารละลายนี้มีความเข้มข้นกี่โมแลล(ตวามหนาแน่นของเอทานอล=  d  g/cm3   ความหนาแน่นของกรดสเตียริก =  c  g/cm3)
ก.  d(100-B)/1000cB           ค.(100-ฺB)/cdB
ข.1000cB/Ad(100-B)            ง.cB/1000Ad(100-B)
7.ถ้าท่านต้องการเตรียมสารละลาย Hg(NO)2  1000 cm2  มีโลหะ  Hg อยู่เป็นปริมาณ 2% มวล/ปริมาตร จะต้องใช้ Hg(NO)2 กี่กรัมละลายในน้ำ1000cm3 (ENT’26)
ก. 20.0     ข. 27.6     ค. 32.4     ง. 55.2
8.ในการเตรียมสารละลาย CaCl2 5% โดยน้ำหนัก/ปริมาตร จำนวน 100cm3 ต้องใช้ CaCl2.H2O และน้ำอย่างละกี่กรัม ตามลำดับ (ENT’36)
ก. 2.5,97.5         ข.5,95             ค.5.6,94.4         ง.9.9,90.1
9.มีสารละลาย NaCl เข้มข้น ร้อยละ 12 โดยมวลต่อปริมาตร จำนวณ200cm3 ถ้าต้องการเปลี่ยน สารละลายนี้ให้มีความเข้มข้นเป็นร้อยละ16 (ในหน่วยความเข้มข้นเดิม) จำนวน 250 cm3 จะต้องเติม NaCl อีกกี่กรัม (ENT’39)
ก.8         ข.12         ค.16         ง.20
10.น้ำบริสุทธิ์ปริมาตร 105 cm3 ที่4 ํc ซึ่งทำให้อิ่มตัว ด้วยก็าซ NH3 จะให้สารละลาย ที่มีความหนาแน่น 0.9 g/cm3 และมี NH 3 30% โดนน้ำหนัก/น้ำหนัก จงคำนวณหาปริมาตรของ
สารละลาย NH3 ที่ได้( ความหนาแน่นของน้ำ= 1g/cm3 ) (ENT’36)
ก.150            ข.166.67        ค.147            ง.197
11.ถ้าต้องการทำสารละลาย HCl เข้มข้น 1M ( หรือ mol/dm3 X จำนวณ 50 cm3 จากสารละลาย HCl เข้มข้น 4M จะต้องการน้ำกี่ cm3 มาผสมกับสารละลายกรด (ENT’19)
ก. 12.5         ข. 20             ค. 37.5         ง. 46
12.สารละลายชนิดหนึ่ง 100cm3 เข้มข้น 3mol/dm3 ถ้าต้องการทำให้มีความเข้มข้นเป็น 2mol/dm3 จะต้องเติมน้ำจนมีปริมาตรเท่าใด(ENT’21)
ก. 600cm3         ข. 300cm3         ค. 200cm3         ง. 150cm3
13.มีสารละลายNaOH 1 mol/dm3 จำนวน500cm3 ถ้าแบ่งมา100 แล้วทำให้เจือจางเป็น 1 ลิตร จะมี NaOH กี่ mol (ENT’22)
ก. 0.01         ข. 0.1         ค. 0.2         ง. 0.5
14.มีสารละลายกรด H2SO4 เข้มข้น 0.2 mol/dm3 อยู่500 cm3 ถ้าต้องการเตรียมกรด H2SO4 ให้เข้มข้น 0.03 mol/dm3 จำนวน 100 cm3 จะต้องใช้กรด H2SO4 กี่ cm3 (ENT’23)
ก. 1.5         ข. 3         ค. 15         ง. 30
15.สารละลายชนิดหนึ่งเข้มข้น 1 mol/dm3 มีปริมาตร 0.2 dm3 เมื่อเติมน้ำกลั่นลงไป 0.3 dm3 ความเข้มข้นจะเปลี่ยนเป็นกี่mol/dm3 (ENT’24)
ก. 0.67         ข. 0.4         ค. 0.1         ง. 0.06
16.นำสารละลายBaCl2 6 mol/dm3 มา  xcm3 เติมน้ำลงไป ycm ได้สารละลาย BaCl2 ที่มีความเข้มข้นลดลงเป็น0.25 mol/dm3 มีปริมาตรรวม 300cm3 ค่า x และ  y  ในข้อใดถูกต้อง (ENT’37)
ก. x=12.5, y=287.5         ข. X=25,y=275
ค. X=37.5, y=262.5         ง. X=50,y=250
17.ถ้าต้องการเติมน้ำลงในสารละลายคอปเปอร์(II) ซัลเฟต (CuSO4) ที่มีความเข้มข้น 16 กรัม / ลิตร 200cm3 กี่ cm3เพื่อให้ได้สารละลายคอปเปอร์(II) ซัลเฟตที่มีความเข้มข้นเป็น0.01 mol/dm3 (ENT’28)
ก. 200         ข. 1800         ค. 2000         ง. 2200
18.สารละลารAเตรียมได้จากการละลาย Na2CO3 5.3กรัม ในน้ำ 250cm2 ถ้าต้องการเตรียม Na2CO3 เข้มข้น 0.01 mol/dm2 จำนวน 500cm2 จะต้องนำ สารละลาย A มาเท่าใด  (ENT’29)
ก.15cm3     ข.20cm3     ค.25 cm3               ง.30cm3
19.สารละลายมี NaOH 4.8 g/dm3ถ้านำมา 100cm3 ทำให้เป็นสารละลาย เข้มข้น 0.1 mol/dm3 เติมน้ำจนปริมาตรรวมทั้งหมดกี่ cm3 (ENT’31)
ก. 110         ข. 120         ค.200         ง.210
20.มีสารละลาย NaOH  เข้มข้น 40 % โดยมวลต่อปริมาตรจำนวน250cm3 ถ้าแบ่งสารมา200 cm3 แล้วเติมน้ำลงไปอีก 50 cm3 สารละลาย NaOH ใหม่ที่ได้จะมีความเข้มข้นกี่ mol/dm3 (ENT’36)
ก. 4         ข.6         ค. 8         ง.10
21.สารละลายกรด HCl เข้มข้น36.5% มวลต่อมวล มีความหนาแน่น 1.15 g/cm3 ถ้าต้องการเตรียมกรด HCl เข้มข้น 0.23 mol/dm3 จำนวณ 250 cm3 ต้องใช้กรด HClกี่ cm3 (ENT’31)
ก. 2.5             ข.5             ค.7.5             ง.10
22.ถ้าต้องการเตรียมกรด HCl เข้มข้น0.5 mol/dm3 จำนวณ 100 Cm3 จากกรดเข้มข้น 36 %โดยมวลซึ่งมีความหนาแน่น 1.2 g/cm3จะต้องใช้กรดเข้มข้นกี่ cm3 (ENT’38)
ก.4.22             ข.5.07             ค.5.52             ง.6.08

คำชี้แจง ข้อมูลต่อไปนี้ใช้ประกอบการตอบคำถามข้อ23-24 (ENT’33)
เมื่อผสมสารละลาย NaOH เข้มข้น 0.4 mol/dm3  จำนวน 30 cm3  กับสารละลาย NaOH เข้มข้น 0.3 mol/dm3  จำนวน 20 cm3
23.สารละลายมีความเข้มข้น  กี่โมล/ลิตร
ก.0.35          ข.0.36          ค.0.70           ง.0.72
24.เมื่อผสมแล้วเติมนํ้ากลั่นจนสารละลายมีปริมาตร 250 cm3ความเข้มข้นของสารละลายที่ได้จะเป็นกี่ mol/dm3
ก.0.35             ข.0.175         ค.0.09         ง.0072
25.เมื่เติมผลึก AgNO3 1.7 กรัมลงในสารละลาย AgNO3 0.1 mol/dm3  250 cm3 แล้วคนจนผลึกละลายหมดสารละลาย AgNO3 ใหม่ที่ได้จะมีความเข้มข้นกี่ mol/dm3 (ENT’26)
ก. 0.11         ข. 0.14         ค. 0.28         ง. 0.44
26.ถ้านำสารละลายนํ้าตาลเข้มขัน 3 mol/dm3    จำนวน 2 dm3มาผสมกับสารละลายนั้าตาลชนิดเดียวกันเข้มข้น 2.5 mol/dm3  จำนวน 3 dm3 แลวเติมนั้าให้มีปริมาตรเป็น 10 dm3ความเช้มช้นของนั้าตาลจะมีค่ากี่ (ENT’32)
ก. 13.5         ข. 5.5         ค. 1.5         ง. 1.35
27.ถ้าต้องการเตรียมสารละลายกรด HNO3 เข้มข้น 1 mol/dm3    ให้มีปริมาตร 14 ลิตร โดยการเติมกรดไนตริกเข้มข้น 15 mol/dm3    ลงในกรดไนตริกเข้มข้น 2 mol/dm3    จำนวน 1250 cm3 จะใช้กรดไนตริก 15 mol/dm3    กี่ลิตร (ENT’20)
ก.12.958         ข.12.75         ค.7.67         ง. 0.767
28.ถ้าสารละลายโพแทสเซียมเปอร์แมงกาแนตมีความเข้มข้น 2.63 %โดยมวลและความถ่วงจำเพาะ 1.2 จะต้องนำสารละลายนี้มากี่ cm3 เพื่อเตรียมสารละลายโพแทสเซียมให้มีความเข้มข้น 0.01 mol/dm3  200 cm3 (ENT’36)
ก.5 cm3         ข.10 cm3         ค.15 cm3         ง.20 cm3
29.ถ้าต้องการเตรียมสารละลายกร HNO3 เข้มข้น 2 mol/dm3 จำนวน210 cm3 จากกรด HNO3 เข้มข้น63% โดยมวล  (ความหนาแน่น 1.4 g/cm3) จะต้องใช้กรด HNO3เข้มข้น 63 % โดยมวลนี้กี่ cm3   (ENT’39)
ก. 20         ข. 25         ค. 30         ง. 35
30.ในการเตรียมสารละลายที่มี Na+ เข้มข้น 0.4 mol/dm3 จำนวน 15 dm3 จากสารละลายNa3PO4 เข้มข้น 0.5 จะต้องใช้สารละลาย Na3PO4 ปริมาตรเท่าใด (ENT’33)
ก. 1200 cm3         ข. 40 cm3         ค. 400 cm3         ง.120 cm3
เฉลย
1.   ค.
      10 dm3     มี  HCl  =  1460  กรัม
      1   dm3     มี  HCl  =  146  กรัม
       1  dm3     มี  HCl  =  146/36.5  = 4  mol
2. ค.
   N = (8*10*1.13)/ 60 =  1.5  mol/dm3
3.ก.
N =  (30*10*1.1 ) / 66  =  5  mol/dm3
4.ง.
A = 58.5 / 58.5 = 1 mol/dm3
B = 71 /142 = 0.5 mol/dm3
C = (10*10) / 40 = 2.5 mol/dm3
5. ง.
สารละลาย  500   cm3  มี  20  cm3  
สารละลาย  100   cm3  มี   (20*100)/ 500 = 4  cm3
 N = (4*10*1.5) /120    = 0.5     mol/dm3
6. ข.
B% โดยปริมาตรหมายถิงสารละลาย 100 cm3 มีตัวถูกละลาย B  cm3
เปลี่ยนตัวถูกละลาย B cm3 เป็นกรัมโดยคุณกับความหนาแน่นแล้วเปลี่ยนเป็นโมลโดยหารด้วยโมเลกุลดังนี่
ตัวถูกละลาย  = Bc/A
เปลี่ยนสารละลาย 100 cm3 เป็นตัวทำละลายโดยลบตัวถูกละลายออกไป   จากนั้นเปลี่ยนตัวทำละลายจากหน่วย cm3เป็นกรัมโดยคูณกับความหนาแน่นดังนี้
ตัวถูกละลาย=( 100-B)d
จากสูตร mol/kg = mol*1000/g
= Bc*1000/A( 100-B) d
7. ค
ต้องการเตรียมความเข้มข้นของ Hg แต่ไปตัก Hg( NO2) 2 แทน Hg
g/M=NV/1000
g/324=2*10*1000/200*1000
g=32.4
8.ง.
ต้องการเตรียมความเข้มข้น CaCl2 แต่ไปตัก CaCl2.6H2O แทน CaCl2
g/M=NV/1000
g/219=5*10*100/111*1000
g=9.9 
9. ค.
NaCL เข้มข้น 12% โดยมวล/ปริมาตร จำนวน 200cm3 มีปริมาตรเกลือดังนี้
สารละลาย  100   cm3                   มี NaCl  =16  กรัม
สารละลาย    200  cm3                   มี NaCl  =24 กรัม
NaCl เข้มข้น 16% โดยมวล/ปริมาตรจำนวน 250 cm3 มีปริมาณเกลือดังนี้
สารละลาย  100   cm3                   มี NaCl  =16  กรัม
สารละลาย    250 cm3                   มี NaCl  = 40 กรัม
จากโจทย์ข้อนี้เราต้องการเตรียมสารที่เข้มข้นข้นเราจะต้องเติมเกลือนี้ลงไปอีก=40-24=16 กรัม
10. ข.
จากความหมายของ NH3 โดยมวล/มวล หมายถิง
ถ้า H2O 70 กรัมเมื่อเป็นสารละลายจะได้สารละลาย   100 กรัม
ถ้า H2O 105 กรัมเมื่อเป็นสารละลายจะได้สารละลาย   150 กรัม
เปลี่ยนหน่วยกรัมที่ได้เป็นหน่วย cm3
d=M/V
V=150/0.9=166.67
11. ค.
N1V1 = N2V2
1*50 = 4* V2
V2 = 12.5
 ต้องเการนํ้า = 50 – 12.5 = 37.5
12. ง.
 N1V1 = N2V2
3*100  = 2*V2
V2 = 150 cm3
13. ข.
N1V1 = N2V2
     1*100 = N2 * 1000
     N2 = 0.1 mol/dm3
14. ค.
N1V1 = N2V2
      0.03*100 = 0.2* V2
        V2 = 15 cm3
15. ข.
N1V1 = N2V2
1 * 0.2 =  N2 * 0.5
N2 = 0.4 mol/dm3
16. ก.
  X+Y = 300
N1V1 = N2V2
6 * x = 300 * 0.25
     x = 12.5
ได้  y = 287.5
17. ข.
CuSO4 = 16 / 160 mol/dm3
     = 0.1 mol/dm3
N1V1 = N2V2
0.1 * 200 = 0.01 * V2
V2 = 2000 cm3
 ต้องการเติมนํ้า = 2000 – 200 = 1800
18. ค.
Na2CO =5.3/106 = 0.05 mol/dm3
 น้ำ 250 cm2   = Na2CO
น้ำ 1000 cm2   = Na2CO3  0.05/250*100 = 0.2 mol/dm3
N1V1 = N2V2
0.01*500 = 0.2* V2
V2 = 25  cm3
19. NaOH = 4.8/40 = 0.12 mol/dm3
N1V1 = N2V2
0.12*100   = 0.1* V2
      V2 = 120
20. ค.
NaOH = (40*10) / 40
                 = 10 mol/dm3
N1V1 = N2V2
10*200  = N2* 250
           N2 =  8
21. ข.
HCl =(36.5*10*1.15) / 36.5
    = 11.5  mol/dm3
N1V1 = N2V2
0.23*250  =  11.5 * V2
        V2 = 5
22. ก
HCl =(36*10*1.2) / 36.5
         = 11.84 mol/dm3
N1V1 = N2V2
0.5 * 100 = 11.84 * V2
V2 = 4.22
23. ข.
N รวม = (N1V1+ N2V2) / V รวม
    =[(0.4 * 30) + (0.3 * 20)] / 50
          = 0.36  mol/dm3
24. ง.
N1V1 = N2V2
0.36*50 = N2* 250
       N2 = 0.072
25. ข.
N รวม=(0.01*1000) + (0.1*250) / 250
= 0.14
26.  ง.
N รวม = (N1V1+ N2V2) / V รวม
    =[(3.0 * 2.0) +(2.5 * 3)] / 10
    = 1.35
27. ง.
N รวม = (N1V1+ N2V2) / V รวม
1  = [(2 * 1.25) + (15 * V2/ 14
V2 = 0.767 ลิตร
28. ข.
KMnO4 = (2.63*10*1.2) / 158
        = 0.2  mol/dm3
N1V1 = N2V2
0.01*200 = 0.2* V2
V2 = 10
29. ค.
HNO3 =(63*10*1.4) / 63
    = 14 mol/dm3
N1V1 = N2V2
14* V1 = 2* 210
      V1 = 30
30. ค.
aN1V1 = bN2V2
1*0.4*1500 = 3*0.5* V2
              V2 = 400
โจทย์ของแต่ละหัวข้อ
1.พลังงานพันธะระหว่าง C-H ในมีเทนจะคำณวนได้จากการเปลี่ยแปลงของพลังงานต่อไปนี้ (Ent’20) (9)
 ก.CH4(g)         C(g)+2H2(g)
ข. CH4(g)         C(g)+2H2(g)
ค.1/4ของพลังงานของปฎิกิริยาในข้อ ก.
ง.1/4ของพลังงานของปฎิกิริยาในข้อ ข.
2. ปัจจัยใดต่อไปนี้มีผลต่อความดันไอของเหลว (Ent’ต.ค.43) (14)
1.แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลของของเหลว
2.ปริมาณของของเหลวซึ่งมีสมดุลระหว่างของเหลวและไอ
3.อุณหภูมิของของเหลว
ก. 1 เท่านั้น         ข. 1,2เท่านั้น         ค. 1,3 เท่านั้น         ง. 1,2,3
3.จะต้องใช้สัดส่วนในข้อใดไปคูณปริมาตรแก๊สที่ 30 องศาเพื่อให้เป็นปริมาตรที่ 60 องศาโดยมีความดันคงที่ (Ent’28)(15)
ก. 60 /30         ข. 273/333         ค. 303/333         ง. 333/303
4.แก๊สชนิดหนึ่งหนัก 3.2 กรัมมีปริมาตร 2 dm3 ที่อุณหภูมิ 27 องศาความดัน 0.5 atm แก๊สนี้มีมวลโมเลกุลเท่าใด (Ent’มี.ค.45) (16 )
ก. 22.4         ข. 39.4         ค. 78.8         ง. 157.9
5.ที่อุณหภูมิคงที่ภาชนะปิดใบหนึทนึ่งมีขนาดเท่ากับ v ลิตร ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนเท่าเท่ากัน(aและ b)โดยมีผนังกั้นภาชนะส่วน a บรรจุแก๊ส x,y ที่มีมลวโมเลกุลM และ 16 M ตามลำดับอย่างละ 10 โมลในขณะที่ภาชนะส่วน B เป็นสูญญากาศหากมีรูรั่วที่ผนังกั้นทำให้แก๊สทั้งสองแพร่ไปยังภาชนะส่วนB โดยแก๊ส Y แพร่ด้วยอัตราเร็ว 1 โมล ต่อนาทีทิ้งไว้จนระบบเข้าสู่ภาวะสมดุลพิจารณาข้อสรุปต่อไปนี้
ก. ภาชนะส่วน Aมีแก๊ส X 5 โมล แก๊ส Y 5 โมล
ข.ภาชนะส่วน Aมีแก๊ส X 2โมล แก๊ส Y 8 โมล
ค.พลังงานจลน์ของแก๊ส Xสูงกว่าพลังจลน์ของแก๊ส Y
ง.ความดันสุดท้ายของภาชนะ Aเท่ากับครึ่งหนึ่งของความดันเริ่มต้น
ข้อใดถูกต้อง (Ent’มี.ค.47) (17)
ก.1และ 3   ข.1และ 4    ค. 2 และ 3   ง.2 และ 4

6.ถ้านำแก๊ส CH4 ,C2H2,NH3,CO,Cl2 มาศึกษาการแพร่ของแก๊ส  แก๊สที่แพร่เร็วสุดคือ(Ent’28)(18)
ก. CH4         ข. C2H2         ค. NH3         ง. Cl2
7.XY2 จำนวน 1.81*10ยกกำลัง24 โมเลกุล จะมีมวลเป็นกี่กรัม (Ent’37) (19)
(กำหนดให้มวลอะตอมของ x = a มวลอะตอมของ y = b )
ก.1/3 (a+2b)     ข. 3(a+2b)
ค.30(a+2b)    ง. (a+2b)/1.81*10ยกกำลัง24
8.สารบริสุทธ์ 1 และ 2 ประกอบด้วยธาตุ A เเละ B สาร 1 หนัก 4.50 กรัม ประกอบด้วยธาตุ A 1.8 กรัม และจากการวิเคราะห์สาร 2 พบว่า ประกอบด้วยธาตุ A เเละ B ร้อยละ 40 และ 60 ตามลำดับ จากข้อมูลที่กำหนดให้นี้ข้อใดถูกต้อง (ENT’35) (20)
ก. อธิบายถึงกฏทรงมวล
ข. พิสูจน์ให้เห็นว่าทั้ง 1 และ 2 เป็นของผสม
ค. สูตรของ 1 และ 2 คือ AB3 และ A2B3 ตามลำดับ
ง. อธิบายถึงกฏสัดส่วนคงที่
9.เมื่อนำสารละลายโพแตสเซียมไฮดรอกไซด์0.1mol/dm3 จำนวน500cm3 และสารละลายโพแตสเซียมไฮดรอกไซด์ 2mol/dm3 จำนวน1500 cm3 มาผสมกันแล้วเติมน้ำจนมีปริมาตรเป็น 2500cm3 ถ้านำสารละลายที่ได้ใหม่นี้ มา250 cm3 จะมีโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์อยู๋กี่กรัม (ENT’33) (29)
ก.3.05              ข.17.1               ค.19.6               ง.171
10.สารชนิดหนึ่งประกอบด้วยP,N และ Cl โดยมี Cl 59.2% P28.8%นำสารนี้มา1.2กรัม ละลายในเบนซีน 14.0cm3 จะได้สารละลายที่มีจุดเยือกแข็ง4.03องศาเซลเซียส(เบนซีนมีจุดเยือกแข็ง 5.48 องศาเซลเซียส ความนานแน่น 0.88g/cm3และค่าKf  5.12องศาเซลเซียส)สูตรโมเลกุลของสารประกอบนี้คือข้อใด (ENT’37) (30)
ก.PNCl2      ข. P3N3Cl6      ค. P4N4Cl8     ง. (PNCl2)6
11.จงพิจารณาข้อมูลต่อไปนี้
สาร                             มวลโมเลกุล          ความเข้มข้นในน้ำ              จุดเยือกแข็งของสารละลาย
เอทิลแอลกอฮอล์                 46                      10% โดยมวล                                   a
น้ำตาลทราย                       342                     3g ในน้ำ 25cm3                                b
เอทิลีนไกลคอล                   62                        40% โดยมวล                                  c
ยูเรีย                                     60                        4g ในน้ำ 15cm3                              d
การเรียงลำดับจุดเยือกแข็งของสารละลายในข้อใดถูก(ENT’45) (31)
ก.a>b>c>d             ข.b>a>d>c            ค.c>d>a>b             ง.d>c>b>a
12.แก๊สหุงต้มชนิดหนึ่งประกอบด้วย โพรเพน และบิวเทนเพียง2ชนิดเท่านั้น ถ้านำแก๊สที่ประกอบด้วยโพรเพน 0.05โมล พาเผาไหม้ให้สมบูรณ์แล้วผ่านแก๊สที่ได้ลงในน้ำปูนใสที่มากเกินพอ เกิดตะกอนหนัก 99 กรัม จงหาว่าในแก๊สหุงต้มนี้มีบิวเทนอยู่กี่โมล(ENT’31) (32)
13.เมื่อละลายโลหะโซเดียมในนํ้าเป็นสารละลาย 500 cm3 สามารถเก็บก๊าซไฮโดรเจนได้ 33.6 dm3 ที่ STP สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่ได้จะมีความเข้มข้นกี่ mol/dm3    (Ent’35)  (33)
ก. 3             ข. 6             ค. 1.5             ง. 5.6
14.สารA ประกอบด้วยธาตุ N,H,O เมื่อทำให้สาร A 16 กรัม สลายตัวจะได้ก๊าซ N2 7 กรัม และไอนํ้า 9 กรัม สูตรโมโลกุลของสาร A อาจเป็นดังข้อใด (Ent’38) (34)
ก.N2H4O3        ข. NHO3        ค. N2H4O2        ง. NH3O
15.สาร X  สามารถสลายตัวได้ดังสมการ  3X                 5Y  +6Z
เมี่อวัดความเข้มข้นของสาร X ในขณะที่เกิดปฏิกิริยาการสลายตัวพบว่าได้ข้อมูลดังต่อไปนี้
  เวลา(วินาที)    [X] (mol/dm3)
      0.00    1.000
       5.00    0.850
      10.00    0.750
       15.00    0.700
       20.00    0.670
ที่เวลา 5 วินาที   จะมีสาร Y เข้มข้นกี่ mol/dm3 (Ent’มี.ค.44) (36)
ก.0.15            ข.0.25         ค.0.85          ง.1.42
16.จงพิจารณาสมการ
A+2B       C +280 kJ
2X +Y +150 kJ        3Z
ถ้าระดับพลังงานของสารตั้งต้นในปฎิกิริยา 1และ2 เป็น 510 และ 340 kJ ตามลำดับระดับพลังงานของผลิตภัณฑ์จาก 2 ปฎิกิริยานี้มีค่าแตกต่างกันกี่กิโลจูล (Ent’ต.ค.42) (37)
17.พิจารณาภาวะสมดุลของสมการต่อไปนี้
1.N2(g) +3H2(g)          K1   2NH3(g)
2. 1/2N2(g) +3/2H2(g)                        K2 NH3(g)
3.1/3 N2(g) +H2(g)                        K3 2/3NH3(g)
ข้อใดอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างค่าคงที่สมดุล K1,K2,K3 ได้ถูกต้อง(Ent’ต.ค.47) (55)
ก.K1=K2*K3
ข. K2=K2*K3ยกกำลัง 3
ค K2=K2*K3ยกกำลัง 3/2
ง. K2=K2*K3ยกกำลัง 3/4
18.จากสมการ A(s) +B(g)          C(s)     K = 10 ยกกำลัง ½
จงหาจำนวนโมลของ B ที่เกิดขึ้นที่ภาวะสมดุลในภาชนะปิดขนาด 0.200 dm3 ที่มี C อยู่ 0.50 กรัม (Ent’40) (56)
ก.0.002             ข.0.02            ค. 0.2             ง. 2
19.พิจารณาสมการ(ยังไม่ดุล)  SO2(g)+O2(g)             SO3(g)   พบว่าที่ภาวะสมดุล  SO2, Y โมล  O2 X  โมลและ  SO3  2Y  โมลในภาชนะ  10   ลิตร  และค่าคงที่ของสมดุลเท่ากับ 100 จงหาค่าของ X (Ent’35) (57)
ก. 0.20         ข. 0.40         ค. 0.04y         ง. 2/y
20. แก๊ส H2 ทำปฏิกิริยากับแก๊ส I2 ได้แก๊ส HI ถ้าเริ่มต้นด้วยแก๊ส H2  6 โมลและแก็ส I2  6โมลในภาชนะขนาด 2dm3ที่สมดุลพบว่ามีแก๊ส I2 เหลืออยู่ 2 โมลถ้ารบกวนสมดุลโดยการเติม HI ลงไป 12 โมล ที่สมเดุลใหม่จะมีปริมาณ HI กี่โมล (Ent’มี.ค.44) (58)
ก.2                 ข.4               ค.12               ง. 6     
21.สารละลายกรดอ่อน 2 ชนิด HA และ HB มี่ค่า Ha=1*10 ยกกำลัง-5 และ 1*10 ยกกำลัง-8 ตามลำดับถ้านำสารละลาย HA และHB ที่มีความเข้มข้นเท่ากันและปริมาตรเท่ากันมาวัด pH สาละลายทั้งสองมีpH ต่างกันเท่าใด   (Ent’ต.ค.45) (61)
22.สารละลาย HCL เข้มข้น 0.25 mol/dm3    ปริมาตร 20 cm3 ทำปฏิกิริยากับสารละลาย NaOH เข้มข้น 0.2 mol/dm3    ปริมาตร 30 cm3 ลงไปจะได้สารละลายที่มีค่า pH อยู่ในช่วงใด (Ent’ต.ค.46) (62)
ก.3-4         ข. 7              ค. 9-10           ง. 11-12
+ 8 ข้อคำนวณ
23.จำนวนอนุภาคของ Na+ ไออน และO2- ไอออนของNa2O 97.5 กรัม เป็นไปดังข้อใด (ENT’38)
                        Na+                                                                        O2-
 ก.           15.05*10ยกกำลัง 23                           30.10*10ยกกำลัง23
 ข.            30.10*10ยกกำลัง23                            15.05*10ยกกำลัง23
 ค.            18.90*10ยกกำลัง23                             9.45*10ยกกำลัง23
 ง.            9.45*10ยกกำลัง23                              18.90*10ยกกำลัง23
24.น้ำกระด้างตะวอย่างมี SO42- และHCO3- และ 183ppm โดยมีไอออนบวกเป็น Ca2+ เท่านั้น ปริมาณของ Ca2+ ในหน่วย ppm มีค่าเท่าใด (ENT’46)
ก.100            ข. 160              ค.188           ง.279
25.ไนโตรกลีเซอรีน สลายตัวดังสมการ C3H5N3O9               N2+Co2+O2+H2O(สมการยังไม่สมดุล) เกิดความร้อนมหาศาล  ทำให้แก๊สที่เกิดขึ้นขยายตัวอย่างฉับพลัน  จึงเกิดการระเบิดอย่างรุนแรง
ถ้าเริ่มต้นด้วยไนโตรกลีเซอรีน 45.4 กรัมและปฎิกิริยานี้เกิดสมบูรณ์ จะเกิดแก๊ส N2  CO2 และ ฯ2  รวมกันกี่ลูกบาศก์เซนติเมตรที่STP (ENT’มี.ค. 48)
ก.  21.3                  ข.  22.4                 ค. 25.5               ง. 30.6
26. เมื่อใช้สารละลายยูเรียเข้มข้น  1 mol/dm3 จำนวน  250cm3   มาทำให้แห้งแล้วให้ทำปฎิกิริยากับ CuO ตามสมการ
              O
NH2-------  C---------NH2(s) + 3CuO ---------->  N2(g) +2H2O(l)  + CO2(g)  +  3Cu(s)
จะได้ผลิตภัณฑ์เป็นแก๊สมีปริมาตรกี่ลูกบาศก์เซนติเมตร ที่STP (ENT’24)
ก. 5.6              ข. 11.2              ค. 22.4                 ง. 44.8
27.จะต้องใช้อลูมิเนียมหนักกี่กรัมจึงจะทำปฎิกิริยาพอดีกับ50cm3 ของสารละลาย Zn(NO3)2 เข้มข้น0.4 mol/dm3  ปฎิกิริยาที่เกดขึ้นเป็นดังนี้ (ENT’21)
                    2Al  +3Zn(NO3)2---------------------------->2Al(NO3)3 +3Zn
ก.  0.27             ข.  0.36                    ค.  0.42                    ง. 0.54
28.เมื่อนำโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนตมาทำปฎิกิริยากับกรดไฮโดรคลอริก ตามสมการ(ENT’31)
                        2KMnO4  +  16HCl -----------------------> 2KCl + 2MnCl2 +8H20 + 5Cl2
ก.  0.58                 ข.     1.58                   ค.  2.58                 ง.  3.58
29.แก๊สที่เกิดขึ้นในข้อ 134 หนักกี่กัรม (ENT’31)
ก.  1.27                 ข.  1.50                        ค. 1.77                 ง. 2.00
30.เมื่อเติมสารละลาย MgCl2  ความเข้มข้น  0.1 mol/dm3 ปริมาตร 20cm3  ลงในสารละลายNa2HPO4 และNH3  มากเกินพอได้ตะกอนของ MgNH4PO4 กี่กรัม (ENT’40)
ก. 0.137                       ข. 1.37                   ค. 0.274                ง.  2.74
 
เฉลย
1. ง.
ถ้าต้องการหาพลังงานพันธะC-Hใน CH4 เราต้องให้พลังงานค่าหนึ่งเเข้าไปทำลายพันธะของ CH4 ให้ขาดให้หมดดังข้อ ข.แต่พลังงานที่ทำลายพันธะในข้อ ข. เป็นการทำลาย 4 พันธะ ถ้าต้องการหาพลังงานของพันธะเดียวก็ต้องหาร 4 คำตอบเจึงเป็นข้อ ง.
2. ค.
1.แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลจะแปรผกผันกับความดันไอ
2.ที่ภาวะเดียวกันปริมาณของของหลวจะมีมากหรือน้อยความดันไอก็จะเท่าเดิม
3.คงามดันไอของของเหลวจะแปรผันตรงกับอุณหภูมิ
 3.ง.
จากความดันคงที่
    V1/T2 =    V2/T1
    V1/303  = V2/333
    V1/303* 333= V2
   จากการคำนวณจะเห็น  ต้องเอาสัดส่วน  333/303 ไปคูณV1 เพื่อให้ได้ปริมาตร V2
4. ค.
PV = g/m.RT
      0.5*2  = 3.2/M *0.082*300
             M= 78.8
5. ง.    
Rx/Ry =  [16M/M]ยกกำลัง1/2 = 4/1 =8/2
ที่อุณหภูมิเดียวกันพลังงานจลน์ต้องเท่ากัน
6. ก.
แก๊สเบาจะแพร่ได้เร็วที่สุดในที่นั้คือ CH4

7. ข.
XY2 = (1.81*10ยกกำลัง24) /6.02*10ยกกำลัง23*(a+2b)
         =3(a+2b)
8. ง.
สารบริสุทธ์ 1    A     :    B            สารบริสุทธ์ 2       A     :    B
            1.8    :       2.7    40     :     60
                            2        :      3        2    :    3
สารประกอบ AB มีสัดส่วนคงที่ คือ 2 : 3
    
9.ข.
N รวม = (N1V1+ N2V2) / V รวม
          =[(0.1*500) + (2*1500)]/2500
              =1.22  mol/dm3
สารละลาย1000dm3 มี 1.22 mol
สารละลาย 250 dm3 มี  1.22/1000   *250    =  0.3 mol
ดังนั้น 0.3*56 = 17.1 กรัม
10. ข.
M = (1.2*1000*5.12)/(14*0.88*1.45)
       = 344
11. ข.
เอทิลแอลกอฮอล์         = 10/9     =    10/46         mol/90      กรัม         
น้ำตาลทราย                 = 3/25     =    10.8342     mol/90     กรัม                          
เอทิลีนไกลคอล           = 40/60   =   60/62          mol/90      กรัม                          
ยูเรีย                             = 4/15     =    2460          mol/90      กรัม
สารที่มีความเข้มข้นมากที่สุดจะมีจุดเยือกแข็งตํ่าที่สุด
12.C3H8  +5O2     3CO2 +  4H2O             1
     2C4H10  +  13O2    8CO2  +10H2O    2
     Ca(OH)2  + CO2              CaCO3  + H2O               3
C3H8 และC4H10  ต่างก้อมีตะกอนร่วมกันคือ CaCO3 95  กรัม  เราสามารถหาตะกอนที่เกิดจาก C3H8 ก่อน สำหรับตะกอนที่เหลือ  หาC4H10 ได้ ดังนั้นตอบ0.2
13. ข.
               2Na + 2H2O    2NaOH +H2
    (N*500)/ (1000*1)= 0.1435/143.5
    N = 6
14.ค.
  N    :     H    :   O
  7/14    1/1     8/16
  0.5       1        0.5
สูตรโมโลกุลที่เป็นไปได้  N2H4O2
15.ข.
จากตารางใน 5 วินาทีเเรก สาร X ถูกใช้ไป 0.15 mol/dm3เราสามารถหาความเข้มข้นของ Y ได้จากสมการดังนี้      3X          5Y +  6Z
           0.15/3      N/5
            N = 0.25 mol/dm3
16 เฉลย ระดับพลังงานของผลิตภัณฑ์จาก 2 ปฎิกิริยามีค่าต่างดันดังนี้  490-230=260 kJ
17. ค.
ความสัมพันธ์ได้ดังสมการข้อ ค. ดังนี้
1.N2 +3H2                2NH3            K1
2.1/2N2+3/2H2                  NH3    K2 = K1 ยกกำลัง 1/2
3. 1/3N2 +H2        2/3NH3       K3= K1 ยกกำลัง 1/3
 ความสัมพันธ์ได้ดังสมการข้อ  ค. ดังนี้
 K1 = K2*K3 ยกกำลัง ½
 K1 = K1 ยกกำลัง ½* K1 ยกกำลัง ½
18.ก
K = 1/[B]
   10 ยกกำลัง ½ = 1/[B]
   [B] = 10 ยกกำลัง -2  mol/dm3       
[B] เข้มข้น 10 ยกกำลัง-2 mol/dm3    หมายความว่า สารละลาย 1000 cm3 มีB เท่ากับ 10ยกกำลัง2 โมล
      ดังนั้นค่าสารละลาย 200 cm3 มีB =0.002 โมล
19. ข.
จากสมการ)  2SO2(g)+O2(g)             2SO3(g)
    ค่า K=  {[ SO3]ยกกำลัง 2}/[SO2] ยกกำลัง 2*[O2]
 เเทนค่า 100 =  {[2Y/10]ยกกำลัง 2}/{[Y/10]ยกกำลัง 2*[X/10]
X = 0.4
20. ก.
           H2 +  I2         2HI
เริ่มต้น     3    3    0
เปลี่ยนไป  2    2    4
สมดุล      1    1    4
K=16 ที่สมดุบใหม่เติม HI ลงไป 12 โมล หรือ 6 mol/dm3    นั้นเองได้สมดุลใหม่
      H2    +      I2              2HI
เริ่มต้น    1              1                    10
เปลี่ยนไป X              X                    2X
สมดุล   1+X      1+X                10-2X
       16=10-2Xยกกำลัง2/1+X ยกกำลัง2
          X=1
        [HI] =10-2=8 mol/dm3  
HI=16 โมลในภาชนะ 2 dm3
21.เฉลย สมมุติให้เข้มข้นเท่ากันคือ 1 mol/dm3  
HA    [H+]=10 ยกกำลัง-2*5        HB        [H+]=10 ยกกำลัง4
              pH=2.5                   pH=4
   ฉะนั้น pH ต่างกัน= 4-2.5=1.5
22. ไม่มีคำตอบ pH=12.3
ไม่มีคำตอบอนุโลมเป็นข้อ ง.ข้อนี้โจทย์จะถามว่าสารละลายจะมี pH ประมาณเท่าใด  เพราะคำตอบที่ได้ไม่ได้อยู่ในช่วง 11-12แต่มีค่ามากกว่า 12 ดังนี้
  N[OH-]=[1*0.2*30)-(1*0.25*20]/50
 pOH=1.7   ดังนั้นpH=12.3
23. ค.
NA2O                                  2NA+           +         O2-
          97.5 / 62    =        ไอออน/ 2*6.02*10 ยกกำลัง 23    ไอออน/6.02*10 ยกกำลัง 23
ได้  Na+  = 18.90*10ยกกำลัง23                                 
       O2-   =  9.45*10ยกกำลัง23
24. ก.
 Ca2        +       SO4 2-     CaSO4
40 / 40     =   96 / 96
 Ca2     +   2HCO3 -         Ca(HCO3)2
ppm /40    =   183 / 122
     ppm  =  100
25. ก.
4C3H5N3O9                         6N2  + 12CO2  + O2       +        10H2O  
45.4/90.8       =     dm3 / 44.8
dm3    =   21.3
26. ข.
NH2CONH2   +  3CuO                  N2+ CO2            +   2H2O   +  3Cu
0.25 /1                =     dm3 /425.6            
    dm3   =   11.2
27. ข.
2Al  +3Zn(NO2)2                     2Al(NO3)3 +3Zn
g / 54    =  0.02 / 3
         g   =  0.36
28. ข.
1/2KMnO4  +  8/16HCl                          2KCl + 2MnCl2+ 8H20 + 5Cl2
g / 158     =    0.08/8
        g   =  1.58
29. ค.
2KMnO4  + 16HCl              2KCl + 2MnCl2+ 8H20 + 5Cl2
    0.08/16                                           =    g/355
g     =    1.77
30. ค.
MgCl2+ Na2HPO4+ NH3                          MgNH4PO4 + 2NaCl
0.002/1    =        g/137
    g    =  0.274



http://www.thaigoodview.com/node/26149       6/02/2555

วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เด็กปั่มยิง พ.ต.ท.ดับหลังไม่จ่ายค่าแก็ส 1 บาท


         (22 ส.ค.)ตำรวจภูธรมะขาม จ.จันทบุรี เข้าตรวจสอบสภาพศพ พ.ต.ท.พลังพล ภักดี อดีตข้าราชการตำรวจใน จ.บุรีรัมย์ บริเวณหน้าตู้จำหน่ายแก๊สภายในปั้มแก๊สแอลพีจีรักชูก้า หน้าตลาดเทศบาลมะขามเมืองใหม่ อ.มะขาม พบบาดแผลถูกยิงด้วยอาวุธขนาด .38 เข้าที่ศีรษะ 2 นัด ไหล่ซ้าย 1 นัด ส่วนคนร้ายที่ลงมือก่อเหตุ คือ นายฤทธิ์ ปรีดาธรรม พนักงานปั๊มแก๊ส โดยหลังก่อเหตุได้ขี่จักรยานยนต์หลบหนีสอบถามเด็กปั๊มที่เห็นเหตุการณ์ทราบว่า ผู้ตายไม่ยอมจ่ายเงินส่วนเกินจากการเติมแก๊ส จำนวน 1.80 บาท โดยอ้างว่าได้บอกให้นายฤทธิ์เติมแก๊สแค่ 600 บาท จึงเกิดการโต้เถียงกัน ก่อนที่นายฤทธิ์จะใช้อาวุธปืนออกมากระหน่ำยิง สำหรับปืนดังกล่าวเป็นของเจ้าของปั๊มที่ให้ไว้กับพนักงานถือเงิน เพื่อป้องกันตัว อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่จะติดตามตัวนายฤทธิ์มาดำเนินคดีในข้อหาฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาต่อไป.-สำนักข่าวไทย
อ้างอิง

      นางสาว อิศรา โรจนะ ชั้น ม.6/1   

จัดค่ายจริยธรรม ปลูกฝังนักเรียน ให้เสียสละเพื่อส่วนรวม

ศูนย์ข่าวศรีราชา - “รร.มารีวิทย์จัดค่ายจริยธรรม ปลูกฝังนักเรียน ให้เสียสละเพื่อส่วนรวม และเป็นคนดีของสังคมบนพื้นฐานของความเป็นไทย 
      
       วันที่ 7 ก.ค.54 นายชวน กิติเกียรติศักดิ์ ผู้รับใบอนุญาตในเครือโรงเรียนมารีวิทย์พัทยา มารีวิทย์สัตหีบ และมารีวิทย์บ่อวิน จังหวัดชลบุรี นำนักเรียนในระดับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ของโรงเรียนมารีวิทย์สัตหีบ จำนวนกว่า 100 คน เข้าค่ายจริยธรรม ณ สำนักปฏิบัติธรรมเขาพลอย อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
       นายชวน กล่าวว่า ทางโรงเรียนมีนโยบายส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงาม ซึ่งเป็นค่านิยมที่พึงประสงค์ของสังคมไทยในปัจจุบันให้เกิดคุณลักษณะที่ดีในตัวของนักเรียนในด้านความ ซื่อสัตย์สุจริต ความกตัญญูกตเวที ความมีเมตตากรุณา การรู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การปรับตัวในการอยู่ร่วมกัน และรู้จักการเสียสละเพื่อส่วนรวม มีความรัก ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และเป็นคนดีของสังคมบนพื้นฐานของความเป็นไทย จึงได้จัดโครงการ ค่ายจริยธรรมขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนในทุกด้าน คือ ให้ผู้เรียนเป็นคนเก่ง ดี มีสุข สามารถอยู่ในสังคมได้เป็นอย่างดี และจุดมุ่งหมายดังกล่าวจะประสบความสำเร็จได้ต้องอาศัยการ ฝึกฝน อบรม สั่งสอนจากครอบครัว โรงเรียน และสภาพแวดล้อม 
       การอบรมส่งเสริมสนับสนุนด้านคุณธรรมจริยธรรมให้แก่เด็ก และเยาวชนจึงเป็นกุศลโลบายอย่างหนึ่งและเป็นพื้นฐานสำคัญอันจะนำไปสู่การพัฒนาในด้านอื่น ๆ ต่อไป โรงเรียนมารีวิทย์สัตหีบได้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมสำหรับนักเรียน และเยาวชนขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติการทำสมาธิให้ถูกต้อง ปลูกฝังให้นักเรียนเลื่อมใส และศรัทธาในพระรัตนตรัย เห็นความสำคัญของพระพุทธศาสนา ในฐานะที่เป็นศาสนาประจำชาติ ให้นักเรียนสามารถนำหลักธรรม และความรู้ไปใช้ในการเรียนในชีวิตประจำวัน รู้คุณค่าของตนเอง รู้คุณค่าของเวลาไม่หลงผิด
       นอกจากนั้นต้องการให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมบำเพ็ญความดี เป็นหนึ่งในหกสิบล้านความดีถวายในหลวงโดยมี คณะ ครูอาจารย์ และนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวนกว่า 100 คน เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้รวม 3 วัน 2 คืน โดยได้รับความเมตตาจากพระครูสังฆรักษ์ พงษ์ศิริ ปภัสสโร หัวหน้าสำนักปฏิบัติธรรมเขาพลอย ให้ความอนุเคราะห์สถานที่สำหรับจัดกิจกรรม ตลอดจนแนะนำพระวิทยากรและร่วมเป็นพระวิทยากรให้ความรู้แก่นักเรียนในโอกาสเดียวกันนี้ด้วย

วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ปิโตรเลียม (Petroleum)

ปิโตรเลียม (Petroleum)

                    น้ำมันปิโตรเลียม หมายถึง น้ำมันที่ได้มาจากใต้พื้นดินของโลกซึ่งมีอยู่ทั่วไป น้ำมันปิโตรเลียมเกิดจากสัตว์ทะเล ที่ตายทับถมอยู่ใต้ทะเลมหาสมุทร ไขมันของสัตว์เหล่านั้น ได้ถูกกักขังด้วยชั้นต่างๆ ตะกอนเหล่านี้จะถูกอัดให้แน่นขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นหิน ดินดาน หินปูน หินทราย หยดไขมันต่างๆ เคลื่อนผ่านหินเหล่านี้ จนกระทั่งไปพบกับหินที่แน่นทึบ ทำให้ไขมันไหลต่อไปไม่ได้ ไขมันที่ถูกขังจะสลายตัวเป็นน้ำมันปิโตรเลียม และก๊าซต่างๆ โดยก๊าซเหล่านี้ จะลอยอยู่เหนือน้ำมัน
                    เนื่องจากน้ำมันปิโตรเลียม เมื่อนำมาจากใต้พื้นดิน มีลักษณะเป็นของเหลวสีดำ น้ำตาล หรือน้ำตาลเข้ม เรียกว่า  " น้ำมันดิบ " (Crude Oil)
                    สารประกอบที่มีอยู่ในน้ำมันปิโตรเลียม เป็นสารประกอบพวกไฮโดร์คาร์บอน มากมายหลายชนิด ตั้งแต่คาร์บอนหนึ่ง จนถึงคาร์บอนนับถึงสิบๆ ตัว พวกที่มีโมเลกุลน้อย จะมีจุดเดือดต่ำ และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามน้ำหนักโมเลกุล เมื่อค่อยๆ ให้ความร้อนแก่น้ำมันปิโตรเลียม พวกที่จุดเดือดต่ำจะระเหยมาก่อน และเมื่อความร้อนมาก พวกที่มีจุดเดือดสูงจะระเหยตามมา จากนั้นก็ให้ผ่านขบวนการควบแน่น จากนั้นของเหลวชนิดต่างๆ จะแยกออกมา ขบวนการดังกล่าว เรียกว่า " การกลั่นตามลำดับส่วน" (Fractional Distillation) เรียงตามลำดับ จากจุดเดือดต่ำ ไปจุดเดือดสูง ได้ดังนี้
               1. ก๊าซธรรมชาติ ได้แก่ มีเธน อีเธน โพรเทน และ บิวเทน มีจุดเดือดต่ำกว่า 0 ํC   พบในบริเวณผิวหน้าของบ่อน้ำมัน สำหรับโพรเทน และบิวเทนทำเป็นของเหลวได้ง่ายกว่ามีเธน และอีเธน จึงนำมาบรรจุถังใช้เป็นก๊าซหุงต้ม ตามครัวเรือน ส่วนก๊าซมีเธน และอีเธน ใช้เป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์ วัตถุดิบในการผลิตปุ๋ย เมธานอล พลาสติก ยางเทียม เป็นต้น
               2. ปิโตรเลียมอีเธอร์ มีสถานะเป็นของเหลว ที่ระเหยได้ง่าย ใช้เป็นตัวทำละลายในห้องวิทยาศาสตร์ และ ในการอุตสาหกรรม เช่น ใช้ทำทินเนอร์
               3. ก๊าซโซลีน (น้ำมันเบนซิน) เป็นของเหลวระเหยง่าย มีจุดเดือดระหว่าง 50 - 150 ํC   ส่วนใหญ่ใช้เป็นเชื้อเพลิง ในกลจักรก๊าซโซลีน
               4. เคโรซีน (น้ำมันก๊าด) จุดเดือดอยู่ระหว่าง 150 - 250 ํC ประโยชน์ใช้จุดตะเกียงให้แสงสว่างเชื้อเพลิงเครื่องบินโดยสารไอพ่น ใช้เป็นตัวทำละลายสำหรับผสมในยาฆ่าแมลง สี น้ำมันชักเงา เป็นต้น
                5. น้ำมันดีเซล หรือเรียกว่า น้ำมันเตา มีจุดเดือดอยู่ระหว่าง 250 - 350 ํC   เป็นน้ำมันที่มีลักษณะเป็นน้ำมันข้น จึงใช้เป็นเชื้อเพลิง สำหรับกลจักรดีเซล
                6. น้ำมันหล่อลื่น จุดเดือดสูงกว่า 300 ํC  มีลักษณะเป็นของเหลวใส และเหนียว ใช้เป็นน้ำมันหล่อลื่น ในเครื่องยนต์ทุกชนิด
                7. วาสลิน มีจุดหลอมเหลวต่ำกว่า 40 ํC   มีลักษณะเป็นครึ่งเหลว ครึ่งแข็ง ใช้ผสมในยาพวกขี้ผึ้ง หรือครีมบางประเภท น้ำมันถูนวด และน้ำมันกันสนิม
                8. ขี้ผึ้งพาราฟิน มีจุดหลอมเหลวต่ำกว่า 80 ํC   มีลักษณะเป็นของแข็ง ไม่ทำปฏิกิริยากับสิ่งใด ใช้เคลือบกระดาษไข ใช้ในการถนอมอาหาร โดยเทน้ำผึ้งเหลวบนหน้าของที่บรรจุในขวด เมื่อเย็นจะแข็งตัวป้องกันเชื้อราได้
                9. ยางมะตอย หรือ ปิโตรเลียมแอสฟัสต์ มีจุดเดือดสูงกว่า 350 ํC   เป็นของแข็งสีดำ ส่วนใหญ่เป็นคาร์บอน ใช้เป็นยางมะตอยปูราดถนน


คาร์บอนเครดิต

ความเป็นมาของคาร์บอนเครดิต
       ภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United  Nations  Framework  Convention  on  Climate  Change หรือ UNFCCC) ตามพิธีสารเกียวโต (Kyoto  Protocol) ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2548 โดยในช่วงแรก (ระหว่างปี พ.ศ. 2551-2555) กำหนดให้กลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วที่เป็นสมาชิกของพิธีสารเกียวโต (Annex l) มีพันธกรณีในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 5.2% จากปริมาณการปล่อยก๊าซเรือกกระจกในปีพ.ศ. 2533 โดยประเทศไทยซึ่งอยู่ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา (Non  Annex l) ในปัจจุบันไม่มีพันธกรณีที่จะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก   แต่จะต้องดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตามกลไก (Mechanism) หลัก 3 ประการคือ

       1.กลไกการทำโครงการร่วม (Joint  Implementation หรือ JI) โดยกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วสามารถดำเนินโครงการร่วมกันเองระหว่างประเทศในกลุ่มโดยปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้เรียกว่า Emission  Reduction  Units หรือ ERUs       2.กลไกการพัฒนาที่สะอาด (CDM) โดยกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว สามารถดำเนินโครงการร่วมกันกับกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา (Non-Annex l) โดยปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้จะต้องผ่านการรับรอง จึงเรียกว่า CERs       3.กลไกการซื้อสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission  Trading หรือ ET)โดยกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ไม่สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศได้ตามที่กำหนดไว้ สามารถซื้อสิทธิ์การปล่อยจากประเทศพัฒนาแล้วด้วยกันเองที่มีสิทธิ์การปล่อยเหลือ เรียกสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกนี้ว่า Assigned  Amount  Units หรือ AAUs


คาร์บอนเครดิตคืออะไร
        คาร์บอนเครดิต หมายถึง สิ่งทดแทนการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ จากการกระทำของมนุษย์ เช่น ภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรม ฯลฯ โดยประเทศที่อยู่ในกลุ่ม Annex l ไม่สามารถทำการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในประเทศของตนเองได้แล้ว ทำให้จะต้องมีการสร้างความร่วมมือกับประเทศกลุ่ม Non-Annex l  โดยผ่านกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean  Development  Mechanism หรือ CDM) เพื่อให้นำมาซึ่ง Certified  Emission  Reduction หรือ CERs เพื่อใช้เป็นคาร์บอนเครดิตของตนเองทำให้มีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศ




ประเทศไทยกับคาร์บอนเครดิต
      ปัจจุบันประเทศไทยมีองค์กรมหาชน เรียกว่า   องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก(องค์กรมหาชน) พ.ศ. 2550 (Thailand  Greenhouse Gas Management  Organization หรือ TGO) มีชื่อย่อว่า อบก. โดยมีกฎหมายรองรับองค์กรดังกล่าวแล้ว และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2550 ที่ผ่านมา โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการวิเคราะห์ กลั่นกรองและทำความสะอาด (Clean Development Mechanism หรือ CDM) รวมทั้งติดตามประเมินผลโครงการที่ได้รับคำรับรอง รวมถึงเป็นศูนย์กลางข้อมูลการดำเนินงานและให้การสันบสนุนการดำเนินงานและให้การสนับสนุนด้านก๊าซเรือนกระจก ตลอดจนให้คำแนะนำแก่ภาครัฐ และเอกชนเกี่ยวกับการจัดการก๊าซเรือนกระจก


แหล่งข้อมูล      - กลุ่มงานคณะกรรมาธิการ การทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสำนักกรรมาธิการ3       - http://www.tgo.or.th/      - http://www.bnet.com/2403-13241_23-187036.html      - http://www2.dede.go.th/Wboard/Question.asp?GID=417      - http://www.asserpress.nl/cata/Kyoto-Protocol/fra.html      - http://www.thaibiogas.net/

เอมีน+เอไมด์

เอมีน+เอไมด์

เอมีน
      เอมีน (amine) คือ สารประกอบที่เกิดจากไฮโดรเจนในโมเลกุลของแอมโมเนียถูกแทนที่
                                                  R"
ด้วยหมู่แอลคินหรือหมู่อะโรมาติก มีสูตรทั่วไป 3 แบบ คือ R-NH2, RNHR'  และ R-N-R'
      การเรียกชื่อ เรียกตามจำนวนคาร์บอนอะตอมคล้ายกับแอลเคน แต่ใช้คำว่า "อะมิโน" นำหน้าเช่น
      CH3CH2NH2   อ่านว่า อะมิโนอีเทน
      CH3CH2CH2CH2CH2NH2   อ่านว่า อะมิโนเพนเทน
      เอมีนมีหมู่อะมิโน (-NH2) เป็นหมู่ฟังก์ชันและมีสมบัติเป็นเบสจึงเกิดปฏิกิริยากับกรดได้ เช่น
      CH3CH2CH2-CH2-nH2         +           HCl              CH3CH2CH2CH2-NHCl-
                 อะมิโนบิวเทน                 กรดไฮโดรคลอริก           บิวทิลแอมโมเนียมคลอไรด์
      เอมีนพบในพืชเรียกว่า แอลคาลอยด์ สารแอลคาลอยด์จะเป็นสารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ พบในส่วนต่าง ของพืช เช่น มอร์ฟีนพบในดอกฝิ่น 
เอไมด์
      เอไมด์ (amide) คือ สารประกอบที่มีหมู่อะมิโน (-NH2) และหมู่คาร์บอนิล (-C-)
             O
เป็นองค์ประกอบ มีสูตรทั่วไปเป็น R-C-NH2 มีหมู่เอไมด์ (-C-NH2) เป็นหมู่ฟังก์ชัน
      การเรียกชื่อ เรียกชื่อตามจำนวนคาร์บอนอะตอมทำนองเดียวกับสารอินทรีย์ทั่วไป แต่เปลี่ยนแปลงท้ายเป็น "……….าไมด์" เช่น
      HCONH2 อ่านว่า เมทานาไมด์
      CH3CONH2  อ่านว่า เอทานาไมด์
      CH3CH2CONH2 อ่านว่า โพรพานาไมด์
      ความสัมพันธ์ระหว่างกรดอินทรีย์ เอมีน และเอไมด์
1. เป็นปฏิกิริยาการเตรียมเอไมด์จากกรดอินทรีย์กับเอมีน  และ (2) เป็นปฏิกิริยาไฮโดรลิซีสด้วยสารละลายกรดหรือสารละลายเบส ให้เอมีนและกรดอินทรย์
                                                     O
      เอไมด์ที่สำคัญคือ ยูเรีย (NH2 - C - NH2) ยูเรียมีประโยชน์มากในทางอุตสาหกรรมโดยเฉพาะการผลิตปุ๋ยยูเรีย 
เอกสารแนบ:DSCF3540.JPG